วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2557

วจีวิภาค:กิตก์ ( เทคนิคดูศัพท์ว่าลงปัจจัยอะไรในนามกิตก์ )

         ในที่สุด เราก็มาถึงบทเรียนที่น่าเบื่อที่สุด โฮะ โฮะ โฮะ... บทเรียนที่เต็มไปด้วยรูปวิเคราะห์มากมาย

ไม่รู้จะยากไปไหน แต่ไม่ต้องกลัว เพราะผมคนนี้แหละ จะอธิบายการตั้งรูปวิเคราะห์ให้เข้าใจง่ายๆเอง


แต่ก่อนที่จะตั้งรูปวิเคราะห์ ผมอยากจะให้ทุกคนจำเรื่องธาตุต่างๆและปัจจัยประจำหมวดธาตุให้แม่นยำ

ก่อนเพราะมันคือส่วนสำคัญที่สุดที่จะใช้ในการตั้งรูปวิเคราะห์ อ้อ อย่าลืมเอาไวยากรณ์มากางแล้วดูไป

พร้อมกันล่ะ ถ้าไม่เข้าใจขึ้นมา จะหาว่าผมไม่เตือนไม่ได้นะ หุหุ

ปล.ผมจะแบ่งเป็น ๒ ช่วงนะครับ คือ ช่วงสังเกตุศัพท์ว่าลงปัจจัยตัวไหน และ ช่วงสอนตั้งวิเคราะห์

          นามกิตก์

          กิตก์ที่เป็นนามและคุณนาม เรียกว่า นามกิตก์ จัดเป็น สาธนะ มีปัจจัยเป็นเครื่องหมายสำหรับแบ่ง

ว่าเป็นสาธนะอะไร ( อาจจะ งง กันหน่อยก็ต้องขออำภัยด้วย เพราะผมก็ งง เหมือนกัน หุหุ )

สาธนะมีทั้งหมด ๗ สาธนะ โดยจัดรูปแบบได้ ๓ รูปแบบ ซึ่งรายระเอียดทั้งหมดอยู่ในหนังสือเรียบร้อย

         กัตตุสาธนะ

สาธนะที่กล่าวถึงผู้ทำหรือผู้ประกอบกิริยาด้วยตนเอง ชื่อว่า กัตตุสาธนะ แปลว่า ผู้ และ ผู้...โดยปกติ

         กัมมสาธนะ

สาธนะที่กล่าวถึงสิ่งที่ถูกกระทำ ชื่อว่า กัมมสาธนะ แปลว่า เป็นที่ (กัตตุรูป) และ เป็นที่อันเขา (กัมมรูป)

         ภาวสาธนะ

สาธนะที่กล่าวถึง ภาวะ ต่างๆ ชื่อว่า ภาวสาธนะ แปลว่า ความ และ การ (เป็นภาวรูปอย่างเดียว)

         กรณสาธนะ

สาธนะที่กล่าวถึงสิ่งที่ถุกเอามาใช้ทำ ชื่อว่า กรณสาธนะ แปลว่า เป็นเครื่อง และ เป็นเหตุ (กัตตุรูป)

แปลว่า เป็นเครื่องอันเขา และเป็นเหตุอันเขา (กัมมรูป)

         สัมปทานสาธนะ

สาธนะที่กล่าวถึงผู้รับ ชื่อว่า สัมปทานสาธนะ แปลว่า เป็นที่ (กัตตุรูป) และ เป็นที่อันเขา (กัมมรูป)

         อปาทานสาธนะ

สาธนะที่กล่าวถึงสิ่งที่ถูกทิ้ง ชื่อว่า อปาทานสาธนะ แปลว่า เป็นแดน (เป็นกัตตุรูปอย่างเดียว)

         อธิกรณสาธนะ

สาธนะที่กล่าวถึงสถานที่ ชื่อว่า อธิกรณสาธนะ แปลว่า เป็นที่ (กัตตุรูป) และ เป็นที่อันเขา (กัมมรูป)

         วิธีสังเกตุสาธนะ

ถ้าอยากรู้ว่า นามกิตก์ เป็นสาธนะอะไร ลองสังเกตุสิ่งเหล่านี้

-ปัจจัย

-อัญญบท

-คำแปล

ถ้าฝึกจนชำนาญ แม้จะเพิ่งเคยเห็นศัพท์เพียงครั้งแรก ก็สามารถแต่งรูปวิเคราห์ได้ทันที ^^

         สรุปรูปวิเคราะห์แห่งสาธนะ

รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะที่เป็น กัตตุวาจก และ เหตุกัตตุวาจก เป็น กัตตุรูป

รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะที่เป็น กัมมวาจก และ เหตุกัมมวาจก เป็น กัมมรูป

รูปวิเคราะห์แห่งสาธนะที่เป็น ภาววาจก เป็นภาวรูป

          

        เมื่อเรารู้หลักอย่างนี้แล้ว เราก็จะมาพิจารณารูปวิเคราะห์กัน ซึ่งตรงนี้มีทริคมากมายที่ผมอยากจะ

แบ่งปัน แต่ก่อนอื่น ขอให้ทุกคนเปิดหนังสือไวยากรณ์ไปที่หัวข้อ "วิเคราะห์แห่งนามกิตก์ 

ในกิตปัจจัย" ซะก่อน เอาล่ะ เมื่อพร้อมกันแล้ว เราจะมาเริ่มที่ ปัจจัยตัวแรกกันเลย

วิเคราะห์แห่งนามกิตก์ ในกิตปัจจัย

       กฺวิ ปัจจัย

วิธีดูว่าศัพท์ไหนลงปัจจัยนี้ดูไม่ยากเลย อันดับแรกดูที่ธาตุ ศัพท์ที่ลง กฺวิปัจจัย ส่วนใหญ่จะถูกลบธาตุตัว

สุดท้ายทิ้ง สังเกตุดูที่รูปวิเคราะห์และบทปลงนะ

สยํ ภวตีติ สยมฺภู

สังเกตุได้ว่า ว.แหวน ตรง ภวติ หายไป ถ้าเกิดตัด ติ วัตตมานา ออก จะเห็นชัดเจนเลยว่า

พยัญชนะที่สุดธาตุ หายไป (ที่ ภู เป็น ภว เพราะพฤทธิ์ อู เป็น โอ แล้วเอา โอ เป็น อว อีกทีนึง)

อุเรน คจฺฉตีติ อุรโค

สังเกตุได้ว่า จฺฉติ ตรงที่ คจฺฉติ หายไป เหลือเพียง ค.ควาย ตัวหน้าเท่านั้น

 ที่เป็น โค เพราะนำไปแจก สิ ปฐมาวิภัตติ (ศัพท์เดิมคือ อุรค เป็นปุํลิงค์ แจกอย่าง ปุริส บุรุษ) )

สํ (สุฏฺฐุ) ขนตีติ สงฺโข

สังเกตุได้ว่า น.หนู ตรง ขนฺ ธาตุ หายไป เหลือเพียง ข.ใข่ ตัวเดียวเท่านั้น

สรุป

พยัญชนะที่สุดธาตุจะถูกลบออกเสมอ ถ้าเกิดพบศัพท์ที่มีลักษณะดังกล่าว ธาตุกิริยามีเพียงอักษร

ตัวหน้าเท่านั้น ) ให้สันนิษฐานไว้เลยว่า ลง กฺวิปัจจัย ในนามกิตก์ แน่นอนนนนน......


ณี ปัจจัย

ตัวนี้ดูง่ายมาก ถ้าสังเกตุดีๆ ศัพท์ที่ลง ณี ปัจจัย จะลงท้ายด้วย สระอี และมีทีฆะสระอยู่เบื้องหน้า

( ณี ปัจจัย เมื่อลงแล้ว ให้ลบ ณ เสีย คงไว้แต่ อี แล้วทีฆะต้นธาตุ ) และมักแปลว่า โดยปกติ

ธมฺมํ วทติ สีเลนาติ ธมฺมวาที 

เห็นชัดนะครับ ในรูปวิเคราะห์เป็น วทติ แต่บทปลงเป็น วาที เดิมคือ วทฺ ธาตุ ในความกล่าว )

ปาปํ กโรติ สีเลนาติ ปาปการี

ถึงในรูปวิเคราะห์จะลง โอ ปัจจัยประจำวาจก แต่รูปสำเร็จต้องเอาออก เหลือแค่ กรฺ ธาตุเฉยๆ

จากนั้นก็นำ ณี ปัจจัยมาใส่แทน ก็จะได้เป็น กรฺ + ณี = กรี ลบ ณ ทิ้ง ) = การี ( ทีฆะสระ อะ หลัง ก )

ธมฺมํ จรติ สีเลนาติ ธมฺมจารี

จรติ
= จรฺ ธาตุในความเที่ยวไป + ติ วัตตมานา ในบทปลง เราจะเอามาเฉพาะตัวธาตุ ซึ่งก็คือ

จรฺ + ณี ปัจจัย = จรี ( ลบ ณ ทิ้ง ) = จารี ( ทีฆะต้นธาตุ คือ อะ ตรง จ()(ระ) )

สรุป

ศัพท์ที่ลง ณีปัจจัย จะมีลักษณะพิเศษคือ ธาตุตัวสุดท้ายมักมรสระอีอยู่บนหัว และมักจะมี

ทีฆะสระอยู่ต้นธาตุ ทั้งมักจะแปลว่า โดยปกติ ( เนื่องจากลงในอรรถแห่งตัสสีล )

ณฺวุ ปัจจัย

ในบรรดาการสังเกตุศัพท์ที่ลงปัจจัยทั้งหมด ศัพท์ที่ลง ณวุปัจจัย เป็นศัพท์ที่สังเกตุง่ายที่สุด

ง่ายแบบโคตรพ่อโคตรแม่ง่ายเลยก็ว่าได้ เพราะพอลง ณวุปัจจัย ปุ๊ป ณวุปัจจัย ก็จะถูกทำให้แปลงเป็น

อก ( -ะก ) ซึ่งตามหลักการสนธิแล้ว เราจะเห็นแค่ ก.ไก่ตัวเดียว นั่นเอง โฮะ โฮะ โฮะ ง่ายใช่ป่ะล่ะ

เทตีติ ทาโก

เนตีติ นาโก

อนุสาสตีติ อนุสาสโก

สุณาตีติ าวโก

ลงท้ายด้วย ก.ไก่ แทบทุกตัว ไม่ใช่สิ ทุกตัวเลยก็ว่าได้!!! ( ยิ่ง อนุสาสโก ยิ่งเห็นชัดเจน )

สรุป 

ศัพท์ที่ลง ณฺวุ ปัจจัย จะมี ก.ไก่ หลังศัพท์เสมอ บางที เรื่องนี้อาจจะเป็นพรหมลิขิตก็ได้ ใครจะรู้ หุหุ

ตุ ปัจจัย

ศัพท์ที่ลง ตุปัจจัย จะสังเกตุได้จากคำว่า ตฺตา ที่มาต่อท้าย และมักมองไม่เห็นพยัญชนะที่สุดธาตุ

เอาง่าย ถ้าเห็นศัพท์ที่ไม่มีพยัญชนะตัวที่สุดธาตุ ให้สันนิษฐานว่าลง กฺวิปัจจัย แต่เมื่อใดที่เห็น ตฺตา

ต่อท้ายมาอีก ให้สันนิษฐานเลยว่าลง ตุปัจจัย จริงแท้แน่นอนนนนน.......

กโรตีติ ตฺตา

กรฺ ธาตุในความทำ ลบ ที่สุดธาตุออก เหลือ ตัวเดียว ลง ตุ แปลง ตุ เป็น ตา ซ้อน ด้านหน้า

วทตีติ ตฺตา

วทฺ ธาตุในความกล่าว  ลบ ที่สุดธาตุออก เหลือ ตัวเดียว ลง ตุ แปลง ตุ เป็น ตา ซ้อน ด้านหน้า

ชานาตีติ ญาตา

ญา ธาตุในความรู้ ลง ตุ แปลง ตุ เป็น ตา แต่เนื่องจากด้านหน้าเป็นสระ จึงซ้อน ไม่ได้

ธาเรตีติ ธาตา

ธา ธาตุในความทรงไว้ ลง ตุ แปลง ตุ เป็น ตา แต่เนื่องจากด้านหน้าเป็นสระ จึงซ้อน  ไม่ได้

สรุป

ศัพท์ที่ลง ตุ ปัจจัยส่วนใหญ่ จะต้องลบพยัญชนะที่สุดธาตุ แล้วซ้อน ต จากนั้นจะมีคำว่า ตา ต่อท้าย

เว้นแต่ธาตุที่มีสระอยู่ท้ายธาตุ ไม่ต้องซ้อน ต ขึ้นมา เพียงแต่เอา ตา ไปต่อท้ายเท่านี้นี่เองงงงง.....

รู ปัจจัย

ศัพท์ที่ลง รูปัจจัย ส่วนใหญ่จะลบที่สุดธาตุ และลบ ร.เรือ ที่ รู ปัจจัย คงไ้ว้แต่ สระ อู เท่านั้น ( -ู )

จากนั้นก็จะเอาพยัญชนะต้นธาตุที่เหลือสนธิเข้ากับสระอู เช่น กร ธาตุ ก็จะเป็น กู ( ลบ ร ที่สุดธาตุ

ลบ ร ตรง รู ปัจจัย เหลือแต่ สระ -ู สนธิกับ ก ที่เหลือจึงเป็น กู ) และมักแปลว่า โดยปกติ

ปารํ คจฺฉติ สีเลนาติ ปารคู
  คมฺ ธาตุในความไป-ถึง แปลง คมฺ เป็น คจฺฉ ลง รู ปัจจัย ลบที่สุดธาติ ( -จฺฉ )  ( ลบ ร ที่ รูปัจจัย ) เป็น คู


วิชานาติ สีเลนาติ วิญฺญู

วิ บทหน้า ญา ธาตุในความรู้ รู ปัจจัย ลบที่สุดธาตุ ( -า ) ซ้อน ญ  ตามหลักพยัญชนะสังโยชน์

ภิกขติ สีเลนาติ ภิกขุ

อันนี้ขอสารภาพว่าจำไม่ได้ครับ เนื่องจากตอนที่อาจารย์สอน ผมหลับ....ZzzZZzzzZZZzzz........

สรุป

ศัพท์ที่ลง รู ปัจจัยส่วนใหญ่ จะลงท้ายด้วยสระอู และมีพยัญชนะต้นธาตุประกอบอยู่ เท่านั้น!!!

อ้อ และก็มักแปลว่า โดยปกติ ด้วย

วิเคราะห์ในกิจจปัจจัย

ข ปัจจัย

ศัพท์ที่ลง ข ปัจจัยส่วนใหญ่ เอ่อ....ทำไมมันถึงไม่มีอะไรเลยฟร๊ะเนี่ยยยยย!!!!! O M G มันไม่มีอะไรจริงๆ

ด้วย ๕๕๕ ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ จะว่ายากก็ยาก จะว่าง่ายก็ง่ายเกิ้นนนน... เอางี้ มาดูตัวอย่างดีกว่า

ทุกฺเขกริยตีติ ทุกฺกรํ

ดูยากมากครับ เพราะมันไม่มีอะไรเลย ใช่ มันไม่มีอะไรเลยยยยยยยยยยย!!!!!!!! เดี๋ยวผมจะแยกศัพท์ให้ดู

ทุกฺข กรฺ ธาตุ = ทุกฺกร สิ่งที่หายไปคืออะไรครับ ใช่แล้ว ข.ใข่ นั่นเอง ใคร งง ก็ขอให้ดูตัวอย่างต่อ

สุเขภริยตีติ สุภโร

สุข + ภรฺ = สุภร รู้สึกเหมือนผมมั้ยครับ มันง่ายจนน่ากลัวอ่ะ ไม่คิดไม่ฝันว่ามันจะดูง่ายแบบนี้

ทุกฺเขรกฺขิยตีติ ทุรกฺขํ

ทุกฺข + รกฺข = ทุรกฺข แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลย ยกเว้นตัวอักษรหายไปตัวสองตัว ๕๕๕

สรุป

ศัพท์ที่ลง ข ปัจจัยทั้งหมด จะมองเห็นธาตุกิริยาชัดเจน และไม่มีตัวอักษรเพิ่มขึ้นมาจากศัพท์เดิม

แม้แต่ตัวเดียว ( เพราะมันมีแต่ลดลง ๕๕๕ ) ถ้าเห็นศัพท์ต่อกันแบบสามัญธรรมดา หรือต่อแบบ กากๆ

ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าลง ข ปัจจัย อ้อ...ส่วนใหญ่จะแปลแบบกัมมวาจกด้วย

ณฺย ปัจจัย


ศัพท์ที่ลง ณฺย ปัจจัยส่วนใหญ่ จะดูโคตรพ่อโคตรแม่ยากมาก เนื่องจากมีตัวปัจจัยที่มีปัญหารวมกันอยู่

ถึง ๒ ตัว นั่นก็คือ ณ ปัจจัย กับ ย ปัจจัย ( เอิ่ม ไอ้ ณ ปัจจัยนี่พอดูออก แต่ ย ปัจจัยนี่ แม่มมมม...."

ปัจจัยสองตัวนี้มันมีปัญหาอย่างไร ผมจะอธิบายให้ฟัง เริ่มที่ ณ ปัจจัยก่อน ตามหลักคัมภีย์ศัพทศาสตร์

เมื่อใดก็ตามที่ลง ณ ปัจจัย จะต้องลบ ณ ทิ้ง และทีฆะสระตัวหน้า ปัจจัยตัวนี้สร้างความวุ่นวายไม่มากนัก

แต่ถ้าเป็น ย ปัจจัยล่ะก็ ๕๕๕ มันสามารถแปลง ย ปัจจัยกับพยัญชนะที่สุดธาตุได้มากมายมหาศาล

มากจนบูรพาจารย์ไม่รจนาไว้ในหนังสือไวยากรณ์ และไม่ใช่แค่มากเท่านั้น ยังแปลงได้พิศดารอีกด้วย

เรียกได้ว่า ถ้าเป็นโจร ก็เป็นโจรระดับเดียวกันกับจอมโจรคิด หรือ จอมโจรลูแปงกันเลย ไม่เชื่อคอยดู

กาตพฺพนฺติ การิยํ

อันนี้เบาะๆ หลอกให้เราตายใจ เพราะยังไม่แปลงร่าง นี่ขนาดไม่แปลงร่างนะเนี่ย ( กรฺ ธาตุในความทำ )

เนตพฺพนฺติ เนยฺยํ ( นี ธาตุในความนำไป )

๕๕๕ เริ่มแปลงร่างกันแล้ว

ตฺตพฺพนฺติ ชฺชํ ( วทฺ ธาตุในความกล่าว )

ทมิตพฺโพติ มฺโม ( ทมฺ ธาตุในความฝึก )

ยุญฺชิตพฺพนฺติ โคฺคํ ( ยุช ธาตุในความประกอบ )

ครหิตพฺพนฺติ คารยฺหํ ( ครหฺ ธาตุในความติเตียน )

ทาตพฺพนฺติ เยฺยํ ( ทา ธาตุในความให้ )

เป็นยังไงบ้าง ใครจะไปคิดล่ะว่า บทปลงของรูปวิเคราะห์ทุกตัวจะมาจาก ปัจจัยตัวเดียวกัน!!!!

สรุป

ถ้าเห็นศัพท์แปลกๆพิศดารๆ ที่มีตัว ย ปรากฏอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับ บทหน้า หรือ บทกิริยา และ

ศัพท์ที่มีพยัญชนะเหมือนกันซ้อนกันหลาๆตัว และมักจะแปลว่า อันเขาพึง ขอให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า

ลง ณฺย ปัจจัย อาเมน...

วิเคราะห์ในกิตกิจจปัจจัย

อ ปัจจัย 

๕๕๕ ขอหัวเราะอีกครั้งเนื่องจากกระผมลืมแล้วว่า วิธีที่จะดู อ ปัจจัย เนี่ย เค้าดูกันยังไง แต่เท่าทีสังเกตุ

ดูแล้วก็คงไม่ต่างจาก ข ปัจจัยนัก เนื่องจากลงแล้วก็เหมือนกับไม่ได้ลง จะต่างก็แต่รูปวิเคราะห์เท่านั้น

นั่นก็คือ ถ้าเป็น ข ปัจจัย บทหน้าจะเป็น ตติยาวิภัติและมี ข.ใข่ ส่วน อ ปัจจัยจะไม่มีอะไรเลย

ส่วนใหญ่จะเป็น กิริยา และ กรรม ถ้ามีวิภัตติอื่นในรูปวิเคราะห์ก็วางไว้หลังกิริยา

หิตํ กโรตีติ หิตกฺกโร

หิต + กรฺ = หิตกฺกร มี ก.ไก่ เพิ่มมาตัวนึง กำ =_=""

วิเนติ เตนาติ วินโย

วิ + นี = วินย อืม....ได้ ย เพิ่มมาอีกตัว =_=""

ปฐมํ ภวติ เอตสฺมาติ ภโว

ปฐม + ภว = ภว เออ...ลดลงไปอีก ๒ ตัว  =_=""

คล้ายๆ ข ปัจจัยเลย ดูยากฉิบหาย แต่จะว่าง่ายก็ง่ายนะ เพราะมันไม่มีอะไรเลย

สรุป

เอาเป็นว่าศัพท์ที่ไม่มีอะไรพิเศษ เป็นศัพท์ธรรมดารากหญ้าสามัญแต่ไม่ได้ลง ข ปัจจัย ก็คือศัพท์ที่ลง

อ ปัจจัยแล้วกันเนอะ มันเหมือนกันมากอ่ะ ไม่รู้จะอธิบายยังไงเหมือนกัน


อิ ปัจจัย

คล้ายๆกับ อ ปัจจัยเลย เพียงแต่พยัญชนะตัวสุดท้ายประกอบด้วยสระ อิ เฉยๆ ( ไม่มีอะไรพิเศษ

เหมือนกัน เหมือนสั่งข้าวมันไก่ มันก็ได้แต่ข้าวมันไก่ ไม่เหมือนสั่งข้าวหมูแดง ที่ได้หมูกรอบมาเพิ่ม

อุทกํ ทธาติ อุทธิ

อุทก + ธา = อุทธิ เย็ดเข้ ที่สุดพยัญนะ () กับที่สุดธาตุ ( -า ) หายไป ๒ ตัวเท่านั้นเอง =_=""

สนฺธิยตีติ สนฺธิ

สํ + ธา = สนฺธิ ไม่มีอะไรพิเศษจริงๆ นอกจาก ลบที่สุดธาตุ แล้วแปลง นิคคหิตเป็น น.หนูเท่านั้น =_=""

นิธิยตีติ นิธิ

นิ + ธา = นิธิ โอ้ ให้ตายเถอะโรบิ้น ทำไมมันช่างดูง่ายเยี่ยงนี้ =_=""

สรุป

สั่งข้าวมันไก่ ยังไงก็ได้ข้าวมันไก่ หุหุ ( ตามนั้นแหละ ไม่รู้จะสรุปยังไงอีกแล้ว )

ณ ปัจจัย

ปัจจัยตัวนี้ดูง่าย ขอเพียงทุกคนจำธาตุแม่นๆก็เพียงพอ หุหุ

กมฺมํ กโรตีติ กมฺมกาโร

กมฺม + กรฺ = กมฺมกาโร

รุชฺชตีติ โรโค

รุชฺ เป็น โรโค ( แปลง ชฺ เป็น คฺ เพราะ ณ ปัจจัย ( มีที่ใช้น้อย ) )

วหิตพฺโพติ วาโห

วหฺ เป็น วาโห

ปจนํ ปาโก

ปจฺ เป็น ปาโก ( เอา จฺ เป็น กฺ เพราะ ณ ปัจจัย ( มีที่ใช้น้อย ) )

สรุป

ถ้าเห็นศัพท์ที่มีลักษณะ มีธาตุครบ ทีฆะต้นธาตุ และไม่มีพยัญชนะตัวอื่นต่อท้าย ให้สันนิษฐานว่าลง

ณ ปัจจัยไว้ก่อน  ซึ่งก็ต้องใช้ความแม่นยำในเรื่องธาตุสูง เข้าใจตรงกันนะ หุุหุ

ตเว ปัจจัย

เฮ้อออ...ขนาดในหนังสือยังไม่ใส่ใจ แล้วเราจะไปใส่ใจทำไมล่ะ เนอะ หุหุ ไม่ใช่ๆ ก็ตามหนังสือเลย

ปกติมันก็ไม่ค่อยมีคนใช้หรอกนะ  เอาล่ะ ไหนๆก็แวะเข้ามาอ่านละ ผมจะอธิบายให้เข้าใจง่ายๆแล้วกัน

กาตเว มาจาก กรฺ + ตเว ลบที่สุดธาตุ พร้อมทั้งทีฆะ ต้นธาตุ

คนฺตเว มาจาก คมฺ + ตเว เอาที่สุดธาตุเป็น น ตามที่หนังสือบอก

สรุป

??? เพราะมันใช้ในจตุตถีวิภัตตินาม มันเป็นศัพท์นาม ไม่ใช่ศัพท์กิริยา จึงไม่ต้องตั้งวิเคราะห์

( อินดี้ฉิบหาย ปัจจัยอื่นตั้งวิเคราะห์กันวุ่นวายไอ้นี่ไม่ตั้งซะงั้น กำ=_="" ) เอาเป็นว่า ถ้าเห็น ตเว ปุ๊ป

ให้สันนิษฐานไว้ก่อนเลยว่าลง ตเว ปัจจัย โอเคนะ อ้อ อีกอย่าง ถ้าใครเจือกมาตั้งวิเคราะห์ล่ะก็ โดน

ผมเอารองเท้าผ้าใบชุบน้ำเปียกๆฟาดปากจนแห้งคามือแน่ โอเคนะ

ติ ปัจจัย

มาอีกละพวกกึ่งง่ายกึ่งยาก จะหญิงก็ไม่ใช่จะชายก็ไม่เชิง ศัพท์ที่ลง ติ ปัจจัย ก็เหมือนศัพทืที่ลง

ตุ ปัจจัย คือ ลบที่สุดธาตุ แล้วใส่ ติ ต่อท้ายเท่านั้นเอง จบป่ะ!!!!

มญฺญตีติ ติ

มนฺ + ติ = ติ ลบ น.หนู ที่สุดธาตุ เท่านั้นเองครับ

สรตีติ ติ

สรฺ + ติ = ติ ลบ ร.เรือ ที่สุดธาตุ เท่านั้นเองครับ

คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ ติ

คมฺ + ติ = ติ ลบ ม.ม้า ที่สุดธาตุ เท่านั้นเองครับ

สรุป

ศัพท์ที่ลง ติ ปัจจัย มักจจะลบที่สุดธาตุ และมี ติ ต่อท้ายเท่านั้นเองงงงงงง...........

ตุํ ปัจจัย

ปัจจัยนี้มาแนวเดียวกันกับ ตเว ปัจจัยเลยครับ กำ =_=""

กาตุํ

กรฺ + ตุํ ลบที่สุดธาตุใส่ ตุํ ปัจจัยเข้าไป

คนฺตุํ

คมฺ + ตุํ ลบที่สุดธาตุใส่ ตุํ ปัจจัยเข้าไป

สรุป

ศัพท์ที่มี ตุํ ต่อท้าย สันนิษฐานไว้เลยว่า ลง ตุํ ปัจจัย จบนะ ที่ไม่ตั้งวิเคราะห์ เพราะใช้เป็นตัวประธาน

และจตุตถีวิภัตตินาม พูดง่ายๆคือมันไม่ใช่กิริยา่ ใครตั้งวิเคราะห์มาล่ะก็ ขอให้ไฟไหม้บ้าน และ

พ่อแม่รวมทั้งญาติผู้ใหญ่ติดอยู่ในนั้นด้วย

ยุ ปัจจัย 

หลักการทำงานของ ยุ ปัจจัยจำไว้ให้ดีเลยนะ เมื่อลง ยุ ปัจจัย ให้แปลง ยุ เป็น อน ( -ะน )

กุชฺฌติ สีเลนาติ โกธโ

กุธฺ + อน = โกธตรงตัวเด๊ะ ไม่ต้องลบที่สุดธาตุ ไม่ต้องทีฆะต้นธาตุใดๆทั้งสิ้น

ภุญฺชิตพฺพนฺติ โภชนํ

ภุชฺ + อน = โภชน ตรงตัวเด๊ะ ไม่ต้องลบที่สุดธาตุ ไม่ต้องทีฆะต้นธาตุใดๆทั้งสิ้น

สรุป

ศัพท์ที่มี น.หนู ต่อท้าย ไม่ลบที่สุดธาตุ ไม่ทีฆะต้นธาตุ สันนิษฐานไว้เลยว่าลง ยุ ปัจจัย

          เอาล่ะครับ ก็เป็นอันจบลงไปเรียบร้อยแล้วสำหรับเทคนิควิธีการดูศัพท์ว่าศัพท์ไหนลงปัจจัยอะไร

ในนามกิตก์ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกคนเป็นอย่างมาก แต่อย่าเพิ่งหนีไปไหนนะครับ

เพราะเราต้องไปต่อกันที่วิธีตั้งวิเคราะห์ แต่ก่อนที่จะไปตั้งวิเคราะห์ ผมจะบอกเทคนิคที่สำคัญที่สุดใน

การดูศัพท์ว่าศัพท์ไหนลงปัจจัยตัวไหน นั่นก็คือ การดูที่ท้ายศัพท์ครับ เพราะปัจจัยทุกตัวจะลงท้ายศัพท์

ทั้งนั้น ถ้าทุกคนไม่เชื่อ ลองเปิดหนังสือไปที่หัวข้อปัจจัยในอัพยยศัพท์ดูสิครับ คำนิยามจะเขียนไว้

ชัดเจน ถ้าเราอยากดูปัจจัยให้ดูที่ท้ายศัพท์ ถามว่า ทำไมผมถึงไม่บอกตั้งแต่ตอนแรกหรอครับ

ผมขอตอบตามตรงเลยนะครับว่า ผมลืมครับ ด้วยความที่มันไม่สำคัญอะไรกับผมแล้ว ผมจึงลืมข้อนี้ไป

อย่างง่ายดาย มาคิดได้ก็ตอนที่มาทวนข้อเขียนนี่แหละครับ แต่ผมว่า ถ้าเกิดทุกคนดูตามที่ผมบอก

มันก็ไม่สำคัญแล้วครับ เพราะทุกคนดูออกหมดแล้วว่าศัพท์ไหนประกอบด้วยอะไรบ้าง ( อุตส่าห์แยก

ขนาดนั้น ถ้าไม่เข้าใจนี่ ผมก็ไม่รู้จะพูดอย่างไรแล้ว ) ก่อนจากกันในบทความนี้ ผมก็อยากจะแนะนำ

อะไรสักเล็กน้อยครับ สำหรับท่านที่เพิ่งอ่านมารวดเดียวจบ ขอให้ท่านพักสายตาสักครู่นะครับ

หรือใครคนไหนที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำภารกิจส่วนตัวมา ก็ขอให้พักสักวันหนึ่ง ค่อยไปอ่านบทความ

สอนตั้งวิเคราะห์ เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างเครียดและหนักหน่วง (มั้ง? หุหุ) พักสายตาสักนิด นอนหลับ

พักผ่อนให้หัวสมองมันโล่งๆยิ่งดี แล้วเจอกันบทความหน้าครับ บ๊ายบายยย....





1 ความคิดเห็น: