วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วจีวิภาค:กิตก์ (สอนแต่งรูปวิเคราะห์ นามกิตก์)

...ถึงกับอ้วก เมื่อทุกคนได้เห็นหัวข้อบทความบทนี้ ๕๕๕ เมื่อก่อนผมก็เป็นครับ

(เดี๋ยวนี้ก็ยังเป็น หุหุ) ยอมรับว่ามันยากครับ แต่ยังไงเราก็ต้องผ่านมันไปให้ได้


ไม่งั้นจะลำบากเมื่อเข้าเรียนชั้นที่สูงขึ้นไป จริงๆนะ นี่พูดจากประสบการณ์โดยตรงของผมเลย

เพราะงั้น หันหน้าสู้เถอะครับ ด้วยทริคและเทคนิคที่ผมได้รับถ่ายทอดมาแล้ว ผมรับรองว่า

ทุกคนจะเข้าใจการแต่งรูปวิเคราะห์ได้อย่างง่ายดายกันเลยทีเดียว ไม่เชื่ออ่ะดิ ^^

ถ้าไม่เชื่อก็ลองอ่านบทความนี้ดูสิครับ เดี๋ยวรู้...เดี๋ยวรู้เลย น้าาาาา.....

   อันดับแรก ต้นทุนที่ทุกคนควรจะมีก่อนแต่งรูปวิเคราะห์ก็คือ

-สามารถแปลความหมายของรูปสำเร็จที่เค้ากำหนดมาให้ เช่น โคปาลโก สามารถมองแล้ว

แปลความหมายได้ทันทีว่า บุคคลผู้รักษาซึ่งโค เพราะถ้าไม่สามารถแปลความหมายได้

ก็ไม่สามารถที่จะแต่งรูปวิเคราะห์ได้เลย

-ความเข้าใจเรื่อง วิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก และปัจจัยอาขยาตทั้งหมด

ถ้าสามารถจำได้ ทุกคนก็สามารถแต่งรูปวิเคราะห์ได้ (ก็แหงอยู่แล้วเนอะ ๕๕๕)

แต่สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจหรือจำไม่ได้ก็ไม่เป็นไรนะครับ เพียงแค่จับเคล็ดให้ได้

ผมรับรองว่า ท่านจะแต่งรูปวิเคราะห์ได้ถูกต้องเหมือนกัน

  เอาล่ะ เมื่อเรามีพร้อมกันทั้งสองอย่างแล้ว เรามาเริ่มต้นกันดีกว่า....


ทริค&ทริป

๑.อย่างแรกต้องแปลให้ได้ก่อน

๒.เมื่อแปลได้แล้วก็จัดการแยกศัพท์ออก เป็นศัพท์นามกับกิริยา(กิริยา = ธาตุ)

 (เรื่องธาตุนอกแบบนี่ต้องอาศัยประสบการณ์และการเดาเอาตามคำแปล ๕๕๕)

๓.จากนั้นมาดูเรื่องปัจจัยกัน ซึ่งก็สังเกตุได้ที่ท้ายศัพท์และคำแปลอย่างที่เคยบอกไว้ในบทความที่แล้ว

๔.เมื่อแยกส่วนประกอบได้แล้วก็นำมาเรียงตามแบบฟอร์มของสาธนะนั้นๆ

๕.เติมวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ที่ถูกต้องลงไป

แผนผังการตั้งวิเคราะห์

กัตตุสาธนะ 

กัตตุรูป                                  นาม+กิริยา(ธาตุ+ ตีติ = รูปสำเร็จ

กัมมรูป ตัสสีลสาธนะ           นาม+กิริยา(ธาตุติ สีเลนาติ = รูปสำเร็จ

สมาสรูป ตัสสีลสาธนะ         นาม+กิริยา(ธาตุ+ ตุํ สีลมสฺสาติ = รูปสำเร็จ

กัมมสาธนะ (ทุติยาวิภัตติ)

กัตตุรูป                                  นาม+กิริยา(ธาตุ)+ ติ ตนฺติ = รูปสำเร็จ

กัมมรูป                                  นาม+กิริยา(ธาตุ+ อิยเตติ = รูปสำเร็จ

กัมมรูป                                  นาม+กิริยา(ธาตุ+ ตพฺโพติ = รูปสำเร็จ

ภาวสาธนะ

อกัมมธาตุ                              นาม+กิริยา(ธาตุ)+ ยเตติ = รูปสำเร็จ

สกัมมธาตุ                              นาม+กิริยา(ธาตุ)+ อน = รูปสำเร็จ

กรณสาธนะ (ตติยาวิภัตติ)

กัตตุรูป                                 นาม+กิริยา(ธาตุ) + ติ เอเตนาติ = รูปสำเร็จ

กัมมรูป                                 นาม+กิริยา(ธาตุ)+ อิยเต เอเตนาติ = รูปสำเร็จ


สัมปทานสาธนะ (จตุตถีวิภัตติ)

กัตตุรูป                                นาม+กิริยา(ธาตุ) + ติ เอตสฺสาติ = รูปสำเร็จ

กัมมรูป                                นาม+กิริยา(ธาตุ+ อิยเต เอตสฺสาติ = รูปสำเร็จ


อปาทานสาธนะ (ปัญจมีวิภัตติ)

กัตตุรูป                                นาม+กิริยา(ธาตุ+ ติ เอตสฺมาติ = รูปสำเร็จ

อธิกรณสาธนะ (สัตตมีวิภัตติ)

กัตตุรูป                               นาม+กิริยา(ธาตุ+ ติ เอตฺถาติ = รูปสำเร็จ

กัมมรูป                                นาม+กิริยา(ธาตุ)+ อิยเต เอตฺถาติ = รูปสำเร็จ

หมายเหตุ:ต้องผันลิงค์และวจนะไปตามตัวประธานเสมอ เข้าใจตรงกันนะ ^^

ยกตัวอย่าง


โคปาลโก

๑.อย่างแรกต้องแปลให้ได้ก่อน

ผู้รักษาซึ่งโค (ถ้าแปลว่านายโคบาลก็ตัวใครตัวมันล่ะครับ หุหุ)

๒.เมื่อแปลได้แล้วก็จัดการแยกศัพท์ออก เป็นศัพท์นามกับกิริยา(กิริยา = ธาตุ)

โค + ปาล ธาตุ

๓.จากนั้นมาดูเรื่องปัจจัยกัน ซึ่งก็สังเกตุได้ที่ท้ายศัพท์และคำแปลอย่างที่เคยบอกไว้ในบทความที่แล้ว

ณฺวุ ปัจจัย

๔.เมื่อแยกส่วนประกอบได้แล้วก็นำมาเรียงตามแบบฟอร์มของ รูปและสาธนะนั้นๆ

นาม+กิริยา(ธาตุ) + ตีติ = รูปสำเร็จ

๕.เติมวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ที่ถูกต้องลงไป

คาวํ ปาเลตีติ โคปาลโก

ตอบ โคปาลโก แปลว่า ผู้รักษาซึ่งโค ลง ณฺวุ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ

วิ.คาวํ ปาเลตีติ โคปาลโก (ผู้ใด) ย่อมเลี้ยง ซึ่งโค เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่า ผู้เลี้ยงซึ่งโค


ปุริโส

๑.อย่างแรกต้องแปลให้ได้ก่อน

ผู้นอนข้างบน ( นอนทำอะไรก็ไม่รู้ ๕๕๕ )

๒.เมื่อแปลได้แล้วก็จัดการแยกศัพท์ออก เป็นศัพท์นามกับกิริยา(กิริยา = ธาตุ)

ปุริ
+ สี ธาตุ

๓.จากนั้นมาดูเรื่องปัจจัยกัน ซึ่งก็สังเกตุได้ที่ท้ายศัพท์และคำแปลอย่างที่เคยบอกไว้ในบทความที่แล้ว

กฺวิ ปัจจัย

๔.เมื่อแยกส่วนประกอบได้แล้วก็นำมาเรียงตามแบบฟอร์มของสาธนะนั้นๆ

นาม+กิริยา(ธาตุตีติ = รูปสำเร็จ

๕.เติมวิภัตติ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ที่ถูกต้องลงไป

ปุริ + เสตีติ ปุริโส

ตอบ ปุริโส แปลว่า ผู้นอนข้างบน ลง กฺวิ ปัจจัย เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ

วิ.ปุริ เสตีติ ปุริโส (ผู้ใด) ย่อมนอน ข้างบน เหตุนั้น (ผู้นั้น) ชื่อว่าผู้นอนข้างบนฯ


สรุป

จับเคล็ดให้ได้ครับ ทุกสาธนะล้วนมีรูปแบบคล้ายๆกัน ต่างแต่การผันลิงค์ วจนะและวิภัตติเท่านั้นเอง

และด้วยรูปแบบที่ตายตัวนี่แหละ เราถึงไม่ต้องไปปวดหัวอะไรมาก ได้ศัพท์ไหนมาก็จับใส่ๆลงไปเลย

จากนั้นก็ บรึ้ม!!! กลายเป็นโกโก้ครั้นซ์ ๕๕๕















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น